วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

สัมภาษณ์ ประเทศเวียดนาม

สัมภาษณ์ ประเทศเวียดนาม
สัมภาษณ์ ประเทศเวียดนาม  20/09/60
ผู้สัมภาษณ์ (ถาม)
อาจารย์จิราวรรณ  สีเหลื่อม  อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์  สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ผู้ให้สัมภาษณ์ (ตอบ)
   1. นางสาวเจนจิรา         ทูลไธสง          รหัสนักศึกษา 59110080
   2. นางสาวเสาวลักษณ์  บุญผ่อง           รหัสนักศึกษา 59110129
   3. นางสาวกนกวรรณ     ลุนภูงา             รหัสนักศึกษา 59110287
   4. นางสาวฉัตรสุดา       ศรีนอก             รหัสนักศึกษา 59110291
   5. นางสาวกมลพรรณ    เปล้ากระโทก   รหัสนักศึกษา 59110294

คำถาม
  1. การศึกษาประเทศเวียดนามเป็นอย่างไร
   2. วัฒนธรรมและการละเล่นในประเทศเวียดนามเป็นอย่างไร
   3. การใช้ภาษาในประเทศเวียดนามมีแบบไหนบ้าง
   4. มีการสอนเด็กเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมเป็นอย่างไร
   5. อาหารประจำชาติเวียดนามคืออะไร
   6. เมืองหลวงของประเทศเวียดนามคืออะไร


แฟ้มสะสมผลงาน

งานชิ้นที่1 วันจันทร์ ที่12 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
หาความหมายของนวัฒกรรม นวัฒกรรมการศึกษาปฐมวัย
การประเมินสภาพจริง
กลุ่มและทีมแตกต่างกันอย่างไร
ความหมายของภาษา
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รับความรู้และเข้าใจมากขึ้น และได้ค้นหาข้อมูลต่างๆ
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ



4.สรุป 
ได้รู้ข้อมูลมากขึ้นจากที่สืบค้นมาหลายๆแหล่งที่มา และได้รู้จักการเรียบเรียงคำใหม่


งาน mind map วันจันทร์ ที่ พ.ศ. 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
ทำ mind map เรื่อง ภาษาและวัฒนธรรม โดยให้หาความหมาย จากกระดาษที่อาจารย์แจกให้ แล้วมาสรุป จากความหมายที่ ซ้ำกัน ทำเป็นงานกลุ่ม และมีการนำเสนอโดยการ ถ่ายทอดสด Facebook กลุ่ม
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้จักการสรุปความคิดและทำงานเป็นทีม ได้ฝึกพูดนำเสนอหน้าห้อง
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


กลุ่ม ประเทศเวียดนาม

สมาชิก
1.นางสาวเจนจิรา ทูลไธสง 59110080
2.นางสาว เสาวลักษณ์ บุญผ่อง 59110129
3.นางสาวกนกวรรณ ลุนภูงา 59110287
4.นางสาวฉัตรสุดา ศรีนอก 59110291
5.นางสาวกมลพรรณ เปล้ากระโทก 59110294

4.สรุป
ได้รู้ความหมายของคำศัพท์ในภาษาและวัฒนธรรมที่คล้ายๆกัน  และรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มและได้ฝึกการนำเสนอ


งานชิ้นที่2  วันจันทร์ ที่26 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
ให้หาภาพแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเดวิด เค เบอร์โล พร้อมอธิบายในมุมมองของครูปฐมวัย
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้ฝึกทักษะในการอธิบายจากความเข้าใจของตนเองที่ได้ไปศึกษาหาข้อมูลมา ได้รับความรู้ในเรื่องของการสื่อสารขั้นพื้นฐานมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ในการสอนได้จริง
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป แบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสาร มีจุดมุ่งหมายในการอธิบายกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกัน อธิบายตัวทฤษฎีโดยพยายามทำให้ง่ายและสามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ 


งานชิ้นที่3  วันจันทรืที่ 26 มิถุนายน 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
แต่งประโยคโดยเลือกระดับการใช้ภาษาและแก้ไขประโยคของเพื่อน
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้การเลือกใช้ระดับภาษากับบุคคลอื่นตามความเหมาะสม
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ



4.สรุป
รู้จักการใช้ภาษาตามความเหมาะสม


งานชิ้นที่4  วันจันทร์ ที่ 3 กรกฎาคม  พ.ศ. 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
ฝึกแนะนำตัวเองในฐานะที่เป็นครูใหม่ และประเมินเพื่อนที่พูดหน้าชั้น
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ฝีกการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ฝึกความกล้าแสดงออกเมื่อต้องออกไปแนะนำตัวเอง และฝึกความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป
รู้จักการพูดในฐานะที่เป็นครูว่าจะต้องมีการพูดอย่างไรบ้างทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเมื่อต้องเจอสถานการณ์จริงจะได้ไม่ตื่นเต้นและกล้าแสดงออก


งานที่5 Early Childhood words  วันจันทร์ ที่24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
ให้หาคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ Early childhood words และแปลความหมายที่เกี่ยวของกับเด็กปฐมวัย
คำศัพท์อย่างน้อย10 คำ พร้อมภาพประกอบ และหาคำศัพท์แยก root prefix suffix
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้จักคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมากขึ้น
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป 
ได้เรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นและได้รู้จัก root prefix suffix ว่าเป็นอย่างไร


งาน mind map Early Childhood Education
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
แปลข้อมูลที่อาจารย์ให้และคำสำคัญมาสรุปในmindmap
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้คำศัพท์เกี่ยวกับปฐมวัยมากขึ้น
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ




4.สรุป
ได้ช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ทำ


การสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน หาคำศัพท์นอกบทเรียน  วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
การหาคำศัพท์นอกบทเรียนของในเนื้อหาบทที่4 หาคำศัพท์ของประเทศตนเองทำรูปแบบ mind map อย่างน้อย 5 หมวดหมู่
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้คำศัพท์ของประเทศเวียดนามในแต่ละหมวดหมู่
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป
ได้เรียนรู้คำศัพท์ในประเทศเวียดนามมากขึ้นและฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม


การนำเสนอการใช้ภาษาเวียดนาม ประเทศอาเซียน  วันจันทร์ที่21 สิงหาคม 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
นำเสนอการใช้ภาษา,การแต่งกาย,การนับเลข,อาหาร ในประเทศเวียดนาม นำเสนอบทสนทนาใน Powerpoint
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้ฝึกการพูดภาษาเวียดนาม รู้จักการแต่งกาย อาหารและได้รู้คำศัพท์ต่างๆ
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป
ได้รู้การใช้ภาษาและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศนอกเหนือจากประเทศที่ตัวเองนำเสนอ ได้ฝึกการตั้งคำถามและคำตอบ


บทสนทนาประเทศเวียดนามในPowerPoint  วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
นำเสนอการสนทนาเป็นภาษาเวียดนามของประเทศเวียดนาม เป็นกลุ่มๆ
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
รู้การใช้ภาษาของแต่ละประเทศ และเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆในประเทศอาเซียน
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ

4.สรุป
กล้าแสดงออกในการพูด การทำงานเป็นกลุ่มและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในอาเซียน


คำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม  วันจันทร์ที่28 สิงหาคม 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
หาคำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้การออกแบบของmind map คำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ความหมายของคำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ
1.หาคำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม


2.mind map environment

4.สรุป
รู้จักการคิดและแสดงความคิดเห็นกัน2คนในคู่ของตัวเอง


Culture shock  วันจันทร์ที่11 กันยายน 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
อ่านเรื่อง Culture shock ในห้องเรียน ตั้งคำถามหาคำตอบ และmind mapping
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษ รู้คำศัพท์ในเนื้อเรื่อง รู้เรื่องราวเกี่ยวกับCulture shock
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ
1.ตั้งคำถาม หาคำตอบ


2.mind mapping Culture shock


4.สรุป
ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิดและแก้ปัญหาร่วมกัน  รู้จักการตั้งคำถามและตอบคำถาม จากเรื่องที่อ่าน ได้เรียนรู้คำศัพท์และฝึกพูดภาษาอังกฤษ


สัมภาษณ์เกี่ยวกับประเทศเวียดนาม  วันจันทร์ที่20 กันยายน 2560
ให้นักศึกษาสะสมงานที่ทำแต่ละสัปดาห์โดยแจ้ง
1. เนื้อหา/กิจกรรม ที่ทำในสัปดาห์นั้นๆ
ให้อาจารย์สัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้ประเทศเวียดนาม
2.ทักษะที่ได้/ความรู้ที่ได้
ได้รู้การศึกษาของประเทศเวียดนามว่าเป็นอย่างไรและวัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม
3.ภาพ/วิดีโอประกอบภาพ


4.สรุป
ได้ฝึกพูดภาษาอังกฤษจากการตอบคำถาม และเรียนรู้การศึกษา คำศัพท์ วัฒนธรรมของประเทศเวียดนาม

Mind map EDU (Group)

Early Childhood Education





นำเสนอPowerPoint ประเทศเวียดนาม

นำเสนอการใช้ภาษาและวัฒนธรรม ประเทศเวียดนาม

การใช้ภาษา,การแต่งกาย,การนับเลข,อาหาร ในประเทศเวียดนาม



(หมายเหตุ ไม่มีวิดีโอที่อาจารย์อัพโหลด)

PowerPoint Vietnam

บทสนทนาประเทศเวียดนาม

ลิ้งPowerPoint : https://www.slideshare.net/pwnsw/ss-80019452



การสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน เวียดนาม

การสื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน 07/08/60
ประเทศ เวียดนาม
1. ให้นักศึกษาค้นคว้า หาหมวดคำศัพท์ที่นอกเหนือจากเอกสารประกอบการสอน
2. นำเสนอเป็นกลุ่ม วันที่ 21 สิงหาคม
3. สร้างบทสนทนา Power point



วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

Culture shock Question & Mind map

Culture shock Question & Mind map  11/09/60

โจทย์ 1. Culture shock  ตั้งคำถามและคำตอบ

           2. Mind map




Mind mapping




Vocabulary culture & Mind map environment

Vocabulary culture & Mind map environment  28/08/60

1.หาคำศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม



2.mind map environment




งานชิ้นที่3

แต่งประโยค โดยเลือกระดับการใช้ภาษาและแก้ไขประโยคของเพื่อน  26/06/60




วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

วันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่5

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                       ที่มา: https://previews.123rf.com/images/lculig/lculig1507/lculig150701102/42392672-Childhood-word-cloud-Stock-Photo.jpg

          แปลคำศัพท์ Early childhood words

1.happy = มีความสุข

2.motherhood = การเป็นแม่

3.knowledge = ความรู้

4.kindergarten = โรงเรียนอนุบาล

5.Nature = ธรรมชาติ

6.friendship = มิตรภาพ

7.holiday = วันหยุด

8.recreation = สันทนาการ

9.human = มนุษย์

10.people = คน




1.education
   root = educate
   prefix = -
   suffix = -ion (ตัด e เติม ion )

2.relates
   root = relate
   prefix = -
   suffix = -s

3.teaching
   root = teach
   prefix = -
   suffix = -ing

4.children
   root = child
   prefix = -
   suffix = -en

5.emerged
   root = emerge
   prefix = -
   suffix = -ed

6.countries
   root = country
   prefix = -
   suffix = -ies (ตัด y เติม ies)

7.continued
   root = continue
   prefix = -
   suffix = -ed

8.childhood
   root = child
   prefix = -
   suffix = -hood
  
9.described
   root = describe
   prefix = -
   suffix = -ed
  

10.personality
    root = personal
    prefix = -
    suffix = -ity


ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Early_childhood_education






วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่2

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ david berlo smcr

                       ผู้ส่ง (source)  ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง 
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่ง ถ้าผู้ส่งสารใช้สื่อได้ถูกต้องและง่ายก็จะสะดวกต่อผู้รับ
                  ในฐานะครูปฐมวัย ควรใช้ภาษาและคำพูดที่ถูกต้อง ชัดเจน ฟังง่าย และควรมีทัศนคติที่ดี มีความน่าเชื่อถือต่อเด็ก

                    สาร (message) เรื่องราวที่มีความหมายหรือสิ่งต่างๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์และแสดงออกมาโดยภาษาและสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้
                  ในฐานะครูปฐมวัย ในการสื่อสารกับเด็กที่จะให้เข้าใจง่ายขึ้นเราต้องแสดงออกโดยการใช้ภาษา สัญลักษณ์หรือความรู้สึกต่างๆ เพื่อถ่ายทอดไปยังตัวเด็กให้รับรู้และโต้ตอบด้วยความเข้าใจ

                   ช่องทางในการส่ง (channel) สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
                  ในฐานะครูปฐมวัย เด็กจะได้รับสื่อโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัสและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและฟัง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติ

                   ผู้รับ (receiver) ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
                  ในฐานะครูปฐมวัย เด็กจะเป็นผู้ที่รับข่าวสารได้ดี ต้องสอดคล้องกับสื่อ ถ้าสื่อด้วยคำพูด เด็กต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ถ้าสื่อด้วยการเขียน เด็กต้องอ่านเละจับใจความให้ได้เพื่อให้สื่อสารกันเข้าใจมากขึ้น

ที่มา http://1.bp.blogspot.com/


วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่1

1. นวัตกรรมคือ  
            ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
          “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
อ้างอิง : https://sites.google.com/site/ajthanadol/nwatkrrm/khwam-hmay-khxng-nwatkrrm

2. การประเมินตามสภาพจริง
            คือ การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรูความสามารถ และ คุณลักษณะตาง ๆ ของผูเรียนอยางเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรมโดยใหผูเรียนไดทำกิจกรรมหรือสรางผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอยางของความรูและทักษะที่ตนมีซึ่งกิจกรรมที่นํามาใชในการประเมินนั้น จะมีลักษณะเหมือนและเป็นสวนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรูมากกวาเปนการทดสอบและขอมูลของการประเมินผลไดมาจากทั้งการเก็บรวบรวมผลงานที่ผูเรียนไดปฏิบัติอยางสอดคลองกับชีวิตประจําวัน การสังเกตพฤติกรรม ควบคูไปกบการทดสอบความรู้ความเขาใจ
อ้างอิง : http://www.samakomarcheewa.or.th/_files/data/data_OpbBnCac.pdf

3. กลุ่มและทีม
          "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้
          "ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ 
อ้างอิง : http://www.phanrakwork.com/

4. ความหมายของภาษา
          ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ใหความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
          ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
1. วัจนภาษา เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น
           ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

อ้างอิง : https://nungruatai11.wordpress.com/