วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่2

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ david berlo smcr

                       ผู้ส่ง (source)  ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง 
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่ง ถ้าผู้ส่งสารใช้สื่อได้ถูกต้องและง่ายก็จะสะดวกต่อผู้รับ
                  ในฐานะครูปฐมวัย ควรใช้ภาษาและคำพูดที่ถูกต้อง ชัดเจน ฟังง่าย และควรมีทัศนคติที่ดี มีความน่าเชื่อถือต่อเด็ก

                    สาร (message) เรื่องราวที่มีความหมายหรือสิ่งต่างๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์และแสดงออกมาโดยภาษาและสัญลักษณ์ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้
                  ในฐานะครูปฐมวัย ในการสื่อสารกับเด็กที่จะให้เข้าใจง่ายขึ้นเราต้องแสดงออกโดยการใช้ภาษา สัญลักษณ์หรือความรู้สึกต่างๆ เพื่อถ่ายทอดไปยังตัวเด็กให้รับรู้และโต้ตอบด้วยความเข้าใจ

                   ช่องทางในการส่ง (channel) สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
                  ในฐานะครูปฐมวัย เด็กจะได้รับสื่อโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัสและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและฟัง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติ

                   ผู้รับ (receiver) ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
                  ในฐานะครูปฐมวัย เด็กจะเป็นผู้ที่รับข่าวสารได้ดี ต้องสอดคล้องกับสื่อ ถ้าสื่อด้วยคำพูด เด็กต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ถ้าสื่อด้วยการเขียน เด็กต้องอ่านเละจับใจความให้ได้เพื่อให้สื่อสารกันเข้าใจมากขึ้น

ที่มา http://1.bp.blogspot.com/


วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

งานชิ้นที่1

1. นวัตกรรมคือ  
            ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
          “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย
อ้างอิง : https://sites.google.com/site/ajthanadol/nwatkrrm/khwam-hmay-khxng-nwatkrrm

2. การประเมินตามสภาพจริง
            คือ การประเมินผลที่ใช้วิธีการและเกณฑที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลการเรียนรูความสามารถ และ คุณลักษณะตาง ๆ ของผูเรียนอยางเต็มเวลาของกิจกรรมในแต่ละโปรแกรมโดยใหผูเรียนไดทำกิจกรรมหรือสรางผลงานออกมาเพื่อแสดงตัวอยางของความรูและทักษะที่ตนมีซึ่งกิจกรรมที่นํามาใชในการประเมินนั้น จะมีลักษณะเหมือนและเป็นสวนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรูมากกวาเปนการทดสอบและขอมูลของการประเมินผลไดมาจากทั้งการเก็บรวบรวมผลงานที่ผูเรียนไดปฏิบัติอยางสอดคลองกับชีวิตประจําวัน การสังเกตพฤติกรรม ควบคูไปกบการทดสอบความรู้ความเขาใจ
อ้างอิง : http://www.samakomarcheewa.or.th/_files/data/data_OpbBnCac.pdf

3. กลุ่มและทีม
          "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้
          "ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ 
อ้างอิง : http://www.phanrakwork.com/

4. ความหมายของภาษา
          ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ใหความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
          ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
1. วัจนภาษา เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น
           ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

อ้างอิง : https://nungruatai11.wordpress.com/